ศูนย์รวมหินธรรมชาติ,หินสังเคราะห์,กระเบื้อง,ไม้ปูพื้น พร้อมบริการติดตั้ง

TH | EN
MENU

งานติดตั้งหินแกรนิต

เทคนิคการติดตั้งพื้นหินแกรนิต (Granite)

                หินแกรนิต (Granite) เป็นหินที่มีลวดลายสวยงาม และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก วิธีการติดตั้งหินแกรนิต มีทั้งการติดตั้งโดยยึดตัวหินแกรนิตเข้ากับโครงสร้างโดยตรง โดยใช้ได้กับผนังหรือพื้นผิวที่เป็นคอนกรีต และประเภทที่ 2 นั่นคือ การติดตั้งโดยการนำหินแกรนิตยึดติดกับโครงเหล็กและใช้ได้ในกรณีที่โครงสร้างเป็นผนังมวลเบาและก่ออิฐ  วิธีการติดตั้งหินแกรนิต ทำโดยการผสมปูนทรายในอัตราส่วนที่เหมาะสมโดยจะใช้ทรายที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปนมาเป็นส่วนผสม และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะ จึงควรผสมน้ำยาประสานปูน ลงไปพร้อมกับส่วนผสมอื่นๆ
ข้อควรระวัง: 
ระหว่างการติดตั้งหินแกรนิตนั้นคือ ถ้าผิวหน้าหินแกรนิต เกิดการเปื้อน ควรที่จะทำความสะอาดทันที เพื่อไม่ให้เกิดเป็นคราบซึ่งนอกจากจะทำความสะอาดออกยากแล้วยังทำให้เป็นรอยด่างอีกด้วย ก่อนจะทำการปูหินแกรนิตควรมีการเตรียมหินแกรนิตให้พร้อมโดยการนำแผ่นหินแกรนิตไปทำความสะอาดและนำมาจุ่มลงในน้ำยากันซึม ตากแดดให้แห้งจึงนำมาปูตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เมื่อปูหินแกรนิตเสร็จเรียบร้อย ตามด้วยการยาแนวโดยเลือกยาแนวที่เหมาะสมกับหินแกรนิต และทำความสะอาดพื้นผิวทันทีเมื่อปูหินแกรนิตและยาแนวเสร็จเรียบร้อย เพื่อป้องกันคราบสกปรกที่จะเกิดจากการที่ปล่อยให้ยาแนวแห้งติดบนพื้นหินแกรนิต ทำให้เกิดปัญหาคราบขาวรอยด่าง ที่รักษายาก
 
ขั้นตอนการติดตั้ง (Operating Procedure)
การเตรียมพื้นที่ติดตั้งพื้นหินแกรนิต(Granite) มีวิธีการหลัก ๆ 3 วิธีดังนี้
               1. การติดตั้งโดยใช้ปูนทราย (MORTAR)
เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปรับระดับและขัดมัน
* ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูหินโดยให้มีระดับ สำหรับเทส่วนผสมของปูนทราย (MORTAR) เพื่อปูหินอยู่ระหว่าง 3-5 ซม. (ไม่รวมความหนาของหิน) ถ้ามากหรือน้อยกว่าควรทำการแก้ไข
* ผสมปูนทรายในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตร ปูน 4 กิโลกรัม และทราย 8 – 10 กิโลกรัม
* นำส่วนผสมดังกล่าวเทลงบนพื้นที่จะติดตั้งหิน และทำการปรับให้ได้ระดับ ก่อนที่จะเอาหินลงติดตั้ง
* ใช้กาวซีเมนต์ผสมน้ำทาบนหลังหินที่จะติดตั้ง แล้วยกวางลงบนตำแหน่งที่ต้องการ โดยใช้ ค้อนยางเคาะเบาๆ  เพื่อให้ได้ระดับ หรือใช้น้ำยาประสานปูนทาบนหลังหินที่จะติดตั้งแทนก็ได้ (ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในขณะนี้เพราะสะดวกและรวดเร็ว) 
* ทำการจัดวางแผ่นหินและแนวรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยให้มีร่องระหว่างรอยต่อประมาณ   1- 2 มม. เมื่อวางแผ่นหินจนเต็มพื้นที่แล้วควรปล่อยให้ MORTAR อยู่ตัวประมาณ 72 ชั่วโมง
* หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างหิน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องหิน  โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ เศษของวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออกมารีบเช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาดๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว 
ข้อควรระวัง :
* ไม่ควรติดตั้งโดยใช้วิธีการแบบซาลาเปา เนื่องจากจะมีโพรงอากาศเป็นช่องว่างใต้ผิวพื้นหินแกรนิต อาจจะมีผลทำให้หินแกรนิตหลุดร่อนและแตกง่าย 
* ส่วนผสมของปูน MORTAR ซีเมนต์กาว น้ำยาประสานปูน และวัสดุยาแนว โปรดสอบถามบริษัทผู้ผลิตเพื่อป้องกันการผิดพลาดภายหลัง
 
                2. การติดตั้งโดยใช้กาวซีเมนต์
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ปรับระดับเรียบร้อยแล้ว เพราะกาวซีเมนต์ก็คือ  ส่วนประกอบของปูนซีเมนต์พอร์ทแลนด์ ทราย และวัสดุผสมพิเศษอื่นๆ ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละราย
* ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูหินให้ได้ระดับตามต้องการ ถ้ามากหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข
* ล้างทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่น น้ำมัน สี เศษปูน และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ และกวาดน้ำที่ค้างบนผิวให้หมดก่อนที่จะใช้ซีเมนต์กาว
* ผสมกาวซีเมนต์ตามส่วนและวิธีของผู้ผลิตกาวซีเมนต์ โดยทั่วไป กาวซีเมนต์ 1 ถุง (15 – 20 kg.) ต่อน้ำ 3 – 5 ลิตร แล้วแต่ละตราผลิตภัณฑ์ว่าระบุส่วนผสมเป็นอย่างไร
* เทกาวซีเมนต์ลงบนพื้นให้เพียงพอสำหรับหินที่จะติดตั้ง ใช้เกรียงหวีฟันปลาปาดให้เป็นร่องให้ทั่ว รวมถึงบริเวณหลังแผ่นหินที่จะติดตั้งด้วย (เบอร์ของหวีแล้วแต่รุ่น, ยี่ห้อ, กาวซีเมนต์ที่ใช้) จากนั้น นำหินปูลงบนกาวซีเมนต์เคาะด้วยค้อนยางเบาๆ เพื่อให้ได้ระดับ
* ทำการจัดงานแผ่นหินและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ  ประมาณ 1 – 2 มม. เมื่อวางแผ่นหินเต็มพื้นที่แล้ว แล้วควรปล่อยให้กาวซีเมนต์อยู่ตัว (ตามกำหนดระยะเวลาของกาวซีเมนต์ที่เลือกใช้) โดยในระหว่างนี้ควรทำความสะอาดหิน แล้วป้องกันด้วยแผ่นพลาสติก POLYHENE SHEET และกระดาษลูกฟูกหรือไม้อัดตามแต่สภาพหน้างาน  เพื่อให้การก่อสร้างส่วนอื่นๆ สามารถทำต่อไปได้โดยพื้นผิวไม่เสียหาย
* หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างหิน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกค้างตามร่องหิน โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง หลังจากนั้นใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟอง และโพรงอากาศของเศษวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออกมารีบเช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาดๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว
ข้อควรระวัง :
* การใช้กาวซีเมนต์ควรทำตามวิธีของบริษัทฯ ผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อเท่านั้น โดยสอบถามและศึกษาวิธีใช้ของผู้ผลิตนั้นๆ
* ควรสังเกตว่ากาวซีเมนต์ที่เลือกใช้หมดอายุหรือยัง โดยปกติกาวซีเมนต์จะมีอายุประมาณ 3 เดือน นับจากวันที่ผลิต การใช้กาวซีเมนต์ที่หมดอายุ อาจจะทำให้หินที่ติดตั้งหลุดร่อนได้ในภายหลัง
 
                 3. การติดตั้งโดยใช้กาวสำหรับติดตั้งหิน
เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับปูทับพื้นเดิม เช่น กระเบื้องเซรามิค, หินอ่อน, หินแกรนิต, หินขัด, พื้นไม้อัด โดยไม่ต้องการรื้อของเก่าออกหรือใช้กับพื้นที่ที่ต้องการรีบใช้งาน
* ตรวจเช็คพื้นเก่าก่อนว่ามีการหลุดร่อนหรือแตกร้าวอยู่หรือเปล่า ถ้ามีควรทำการแก้ไขก่อน
* ล้างทำความสะอาดพื้นผิวเดิมให้สะอาดปราศจากฝุ่น, น้ำมัน และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ และเช็ด พื้นผิวให้แห้งสนิท
* หลังจากนั้นทำตามคำแนะนำของบริษัทฯ ผู้ผลิตกาวที่เลือกใช้ เนื่องจากกาวแต่ละตราผลิตภัณฑ์
จะมีวิธีที่แตกต่างกัน
* เทกาวลงบนพื้นให้เพียงพอสำหรับหินที่จะติดตั้ง ใช้เกรียงหวีฟันปลาปาดให้เป็นร่องให้ทั่ว รวมถึงบริเวณหลังแผ่นหินที่จะติดตั้งด้วย จากนั้นนำหินปูลงบนกาว เคาะด้วยค้อนยางเบาๆ เพื่อให้ได้ระดับ
* ทำการจัดวางแผ่นหินและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ ประมาณ 1 – 2 มม. เมื่อวางแผ่นหินเต็มพื้นที่แล้วควรปล่อยให้กาวอยู่ตัว (ตามกำหนดระยะเวลาของกาวที่เลือกใช้)
* หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการยาแนวรอยต่อระหว่างของหินเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องหิน โดยทำความสะอาดรอยต่อของหินด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง หลังจากนั้นใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่น เพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ เศษของวัสดุยาแนวที่ล้นเกินออกมารีบเช็ดออกโดยเร็วด้วยผ้าหมาดๆ ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว
ข้อควรระวัง :
* เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ สถาปนิกหรือบริษัทฯ ก่อนทำการติดตั้ง
การใช้กาวเป็นวิธีที่ไม่นิยมในบ้านเรา เพราะมีราคาแพง หาช่างปูยาก เพราะฉะนั้นก่อนใช้ควรปรึกษาช่างและบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกาวดังกล่าว
 
การติดตั้งผนังหินแกรนิต(Granite)
มีวิธีการหลัก ๆ 2 วิธีดังนี้
               1. การติดตั้งแบบแห้ง (Dry Process / Mechanical Fixing)
* เช็คผนังที่จะดำเนินการติดตั้งว่าเป็นโครงสร้าง (ใช้เพสทยึดกับผนัง) หรือเป็นผนังก่ออิฐ หรือไม่มีโครงสร้าง (ให้ตั้งโครงเหล็กเพื่อยึดเพสท) 
* ดำเนินการแผ่คัดสีหิน (จัดเป็นชุด) ให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบก่อนติดตั้ง
* ดำเนินการทิ้งดิ่งและหาระดับแนวการปูหินและการหาเศษของแผ่นหินตามที่รุบุไว้ในแบบอนุมัติหรือตามความเห็นของผู้ควบคุมงาน
* การเจาะหรือบากหินเพื่อยึดเพสทไม่ควรเจาะให้กว้างเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อที่หินเหลือน้อยทำให้มีผลต่อความแข็งแรง  
* การใส่ Epoxy ในร่องที่บากหินเพื่อยึดเพสท ควรใส่ให้เต็มเพื่อไปแทนที่เนื้อหินที่สูญเสียไป 
* การติดตั้งควรใส่ MORTAR หลังหินแถวฐานรากให้สูงขึ้นจากระดับพื้นประมาณ 1 เมตร 
เพื่อกันการกระแทกและช่วยรับน้ำหนักจากผนังหินด้านบนด้วย
หมายเหตุ:
* การติดตั้ง DRY PROCRESS เหมาะสำหรับติดตั้งกับหินที่มีการดูดซึมน้ำสูง เพราะจะช่วยในการระเหยของน้ำได้ดีและไม่เกิดการซ้ำน้ำที่ทำให้สีหินเปลี่ยนทำให้ความสวยงามลดลง 
* เหมาะสำหรับงานภายนอกอาคารเพื่อลดการเกิดซัลเพล (เกลือปูน, คราบขาว)หลังการติดตั้ง

               2. การติดตั้งแบบเปียก (Wet Process)
* เช็คผิวผนังบริเวณที่จะติดตั้ง ทำความสะอาดให้ปราศจากคราบน้ำมัน ฝุ่น และสกัดเศษปูนทรายที่เกาะอยู่ออกให้หมด และล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ
* ผสมปูนทรายด้วยอัตราส่วนน้ำที่เหมาะสม และควรใช้น้ำสะอาดในการผสมปราศจากกรดหรือด่าง
* ควรใส่ตะขอ S/S เพื่อช่วยในการยึดเกาะ
* การใส่กาว RTA ต้องใส่ให้เต็มเพื่อไม่ให้เกิดการหลุดร่อน
* หลังปูหินแล้วเสร็จทิ้งให้ MORTAR แข็งตัวโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 วัน
* ยาแนวรอยต่อด้วยกาวซีเมนต์สำหรับยาแนว ทิ้งไว้จนปูนยาแนวแห้งหมาด ๆ จึงเริ่มเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำปูนที่ติดอยู่บนแผ่นหินออกให้เรียบร้อย
 
การดูแลรักษาหินแกรนิต(Granite)
                ก่อนการติดตั้งหินแกรนิต ผู้ใช้ควรจะมีการป้องกันการซึมของน้ำชั้นต้น ตั้งแต่พื้นปูนไปจนถึงเนื้อหินเอง เพื่อช่วยลดการซึมของน้ำ (Water Marks) โดยใช้ผลิตภัณฑ์กันซึมที่ใช้กับหินแกรนิตโดยเฉพาะ ทั้งนี้ควรทาน้ำยากันซึมทั้ง 6 ด้านของเนื้อหิน แล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วันเต็ม เพื่อให้น้ำยากันซึมเข้าไปทำปฏิกิริยากับหิน จากนั้นนำหินที่ทาน้ำยาไว้ผึ่งลมปล่อยให้แห้งสนิท 
ข้อควรระวัง :
สำหรับการดูแลรักษาพื้นผิวของหินแกรนิต คือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและขัดเงา ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรใช้ อย่างมากกับการทำความสะอาดหินแกรนิต คือ ผงซักฟอก หรือน้ำยาขัดห้องน้ำ ตลอดจนน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรด รวมทั้งน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันมะกอก เพราะจะทำให้ผิวของหินด้าน หมดสภาพความเงา ส่วนปัญหาของคราบสกปรกที่เกิดจากสนิมเหล็ก, ยางไม้, น้ำปูน ฯลฯ ที่อาจเกิด จากการใช้งาน ก็ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเฉพาะเพื่อใช้ในการขจัดคราบสกปรกดังกล่าว ไม่ให้ทิ้งร่องรอยไว้บนพื้นหิน หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดแล้ว ควรใช้น้ำยาขัดเงาเป็นแวกซ์ชนิดน้ำที่เรียกว่า Liquid Wax บาคาร่า